วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่องค์การใช้กลยุทธ์ เทคนิค วิธีการ หรือศิลปะในการดำเนินการวางแผนและกำหนดนโยบาย การสรรหาและคัดเลือก การฝึกอบรมและพัฒนา การใช้ประโยชน์ การบำรุงรักษา การประเมินผลการปฏิบัติงานของทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการพ้นสภาพจากทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ  กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถจำแนกกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ดังนี้
               1. กระบวนในการสรรหา (HR. Recruitment) เป็นการนำแผนมาสู่การปฏิบัติโดยการประกาศเชิญชวนผู้สนใจให้มาสมัคร ซึ่งอาจสรรหาจากทรัพยากรภายในองค์การหรือภายนอกองค์การก็ได้ แต่ต้องให้เหมาะสมกับหน้าที่งาน สำหรับบุคลที่จะสมัครเข้าทำงานก็จำเป็นต้องเตรียมตัวเข้ารับการคัดเลือก การสอบแข่งขัน การสัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่น ๆ ตามแต่ที่จะกำหนดไว้ในแผน
               2. การคัดเลือกบุคลากร (HR. Selection) เมื่อผู้สนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือกก็อาจเป็นไปได้ว่า ไม่มีผู้เหมาะสมต่อตำแหน่ง หรือมีผู้เหมาะสมหลายคนแต่มีตำแหน่งรองรับจำกัด ก็ต้องทำการคัดเลือก โดยอาจใช้วิธีการทดสอบหรือการวัดหลาย ๆ แบบรวมกัน ซึ่งมักจะเป็นการวัดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้น ๆ และทัศนคติที่มีต่องานที่จะทำ หรืออาจกล่าวได้ว่าอาจจำเป็นต้องวัดทั้งสติปัญญา เชาวน์ไวไหวพริบ และอารมณ์ของผู้สมัครประกอบกันวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานมักคำนึงถึงบุคลิกภาพและความสามารถที่สำคัญ 4 ประการ คือ ความสามารถในการคิดหรือทักษะในการคิด (Conceptual Skill) ความสามารถหรือทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Human Relation Skill) และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ (Creativity Skill) ดังนั้นวิธีการคัดเลือกหรือตรวจสอบคุณสมบัติ ความสามารถของบุคคลจึงมีหลายวิธีการคือ
2.1) การตรวจสอบประวัติจากเอกสารหรือบุคคลอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูลปฐมภูมิอื่น ๆ
ของผู้สมัคร เพื่อประเมินประวัติเบื้องต้นต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์ การทำงาน ผลงานดีเด่น หรือข้อมูลด้านลบที่อาจเป็นผลเสียต่อการทำงาน
2.2) การสัมภาษณ์เพื่อดูบุคลิกภาพและประเมินทักษะการติดต่อสื่อสารหรือการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
2.3) การทดสอบความรู้ เพื่อประเมินว่าคุณวุฒิที่มีอยู่ตามประวัติการศึกษานั้น ทำให้บุคคลมีความสามารถในการคิดหรือไม่ ตามปกติภาคราชการมักกำหนดให้สอบข้อเขียนในสองหมวด คือ หมวดความรู้ทั่วไป และหมวดความรู้เฉพาะตำแหน่ง แต่ในภาคเอกชนอาจมีวิธีการทดสอบความรู้ที่แตกต่างออกไป
2.4) การทดสอบภาคปฏิบัติ เพื่อประเมินว่าบุคคลจะมีความสามารถปฏิบัติงานในระดับที่กำหนดหรือในระดับมาตรฐาน หรือเพียงพอต่อการทำงานในตำแหน่งที่จะรับเข้ามาเป็นพนักงานหรือไม่ เช่น การใช้ภาษา การใช้เครื่องมือ การใช้เทคนิควิชาชีพที่จบการศึกษามาอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ ตามปกติภาคราชการให้ทดลองปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ส่วนภาคเอกชนจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย
2.5) การทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อประเมินว่าบุคคลมีเชาว์ไหวพริบในการแก้ปัญหาหรือไม่ มีความถนัดเหมาะสมกับบุคลิกภาพอย่างไรหรือถนัดงานแบบใด มีแรงจูงใจที่จะทำงานแบบใด มีทัศนคติต่องานที่จะทำอย่างไร  
3.  การทดลองงาน คือระยะเวลาการทำงานที่นายจ้างต้องการใช้เวลาในการพิสูจน์ถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะ ในตำแหน่งงานที่ลูกจ้างได้รับมอบหมายว่ามีความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่นายจ้างกำหนดไว้หรือไม่ก่อนบรรจุลูกจ้างเป็นพนักงาน
                                3.1กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้ นายจ้างมีสิทธิทดลองงานนานเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
                                3.2เงื่อนไขการทดลองงานอาจตกลงก่อนเข้าทำงานหรือจะตกลงกันภายหลังจากลูกจ้างเข้าทำงานแล้วก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ควรจะต้องตกลงก่อนเข้าทำงาน เพราะหากการขยายระยะเวลาทดลองงานออกไปสามารถกระทำได้ แต่กรณีระยะเวลาทดลองงานรวมกันแล้วตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย หากต้องการเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.118
4.  การสัมภาษณ์บุคคลเข้าทำงาน  คือการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยมีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ เนื้อหาที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ผู้ทำการสัมภาษณ์ และผู้ถูกสัมภาษณ์
4.1 ความสำคัญของการสัมภาษณ์
                                           1. การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือและขั้นตอนสำคัญของการคัดเลือกบุคคล ทำให้ได้คนดีตามต้องการ
                                           2. การสัมภาษณ์เป็นวิธีที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ และประสบการณ์เป็นอย่างดี
                                           3. การสัมภาษณ์ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ทำให้ได้คนดีเหมาะสมกับงานที่จะทำ
4.2  ประเภทของการสัมภาษณ์
                                           1. การสัมภาษณ์อย่างอิสระ (The free interview)
                                           2. การสัมภาษณ์อย่างมีแบบแผน (Planned interview)
4.3 ขั้นตอนการสัมภาษณ์
                                           1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ให้ตรงกับงาน
                                           2. ระบุเป้าหมายการสัมภาษณ์ให้ชัดเจน
2.1 ทำความคุ้นเคยกับผู้สมัครเป็นการส่วนตัว
2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและความคาดหวังของสถานศึกษา
2.3 พิจารณาบุคลิกภาพของผู้สมัคร
                                                     2.4 รวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของผู้ถูกสัมภาษณ์ที่มีต่อสถานศึกษา
                                                     2.5 หาข้อมูลผู้สมัคร
                                           3. เลือกประเด็นเพื่อกำหนดเกณฑ์การตัดสินใจ
                                                     3.1 ตั้งคำถามสำหรับเป็นเกณฑ์พิจารณา
                                                     3.2 พิจารณาประเด็นสำคัญในใบสมัคร
                                                     3.3 ระบุลักษณะของบุคคลที่จะคัดเลือก
                                           4. กำหนดหัวข้อหลักในการตั้งคำถาม
                                                     4.1 ความคาดหวัง และเป้าหมาย
                                                     4.2 ประวัติการศึกษา
                                                     4.3 ผลการศึกษา
                                                     4.4 ประสบการณ์การทำงาน
                                                     4.5 ประวัติครอบครัว
                                                     4.6 กิจกรรมที่ทำในขณะที่กำลังศึกษา
                                           5. การตั้งคำถาม
                                           6. จัดทำโครงสร้างการสัมภาษณ์
                                           7. การเลือกเวลาและจัดเตรียมสถานที่
                                           8. การดำเนินการสัมภาษณ์
                                                     8.1 แนะนำตัวผู้สัมภาษณ์
                                                     8.2 สร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว
                                                     8.3 การถาม
                                                     8.4 หลีกเลี่ยงการใช้คำถามนำ
                                                     8.5 จัดเก็บข้อมูล ข้อสังเกตไว้
                                                     8.6 ควบคุมเวลาในการสัมภาษณ์ให้เหมาะสม
                                                     8.7 เปิดโอกาสให้ผู้สมัครซักถาม
                                                     8.8 สรุปและจบการสัมภาษณ์
4.3  องค์ประกอบการตัดสินใจของผู้สัมภาษณ์
                                           1. ความคาดหมายของผู้สมัคร (Interviewer stereotype)
                                           2. คุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร (Personal characteristics of candidate)
                                           3. ชนิดของข้อมูลของผู้สมัคร (Type of information)
                                           4. การเรียงลำดับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ (Temporal order of interview)
                                           5. ชุดการตอบของผู้สมัคร (Interview set)
                                           6. ผลการเปรียบเทียบผ็สมัครก่อนหลัง (Contrast effects)
                                           7. โครงสร้างการสัมภาษณ์ (Interview Structure)
4.4  การประเมินผลการสัมภาษณ์
                                           1. การกำหนดรูปแบบการประเมิน
                                                     1.1 การจัดผู้สัมภาษณ์เป็นกลุ่ม
                                                     1.2 การจัดลำดับที่
                                                     1.3 การให้คะแนน
                                                     1.4 การบันทึกความเห็น
                                           2. แบบฟอร์มประเมินการสัมภาษณ์ แบ่งได้ 2 แบบ
                                                     2.1 แบบเปิด
                                                     2.2 แบบฟอร์มสัมภาษณ์แบบกำหนดรายการประเมินผล
                                           3. วิธีการประเมิน
3.1 การหาค่าเฉลี่ยของคะแนนของคณะกรรมการสัมภาษณ์
3.2 การหาคะแนนรวมของการสัมภาษณ์
3.3 การตัดสินได้ตก
3.4 การบันทึกความคิดเห็น 
5. การประเมินผลการปฏิบัติงา เป็นกระบวนการกำกับติดตาม ผลการปฏิบัติงาน และพิจารณาตัดสินว่าทรัพยากรมนุษย์ปฏิบัติงานได้ดีเพียงไร เป็นไปตามเป้าหมายหรือนโยบายขององค์การหรือไม่ ทั้งนี้สามารถกระทำได้โดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ เมื่อได้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้ว ผู้ประเมินควรสื่อสารให้ผู้ถูกประเมินได้ทราบถึงผลการประเมินนั้นด้วย
6.  ค่าตอบแทน   หมายถึง   ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่องค์การจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายนี้อาจจ่ายในรูปตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงินก็ได้ เพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ จูงใจให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน และเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ซึ่งค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ที่ให้กับลูกจ้างหรือพนักงาน อาจเป็นในรูปของตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน  รวมถึงการให้รางวัลกับพนักงานผู้ปฏิบัติงานดีเด่น โดยค่าตอบแทนจะได้รับอิทธิพลจากตลาดแรงงาน กฎหมาย ฐานะการเงินของกิจการ คู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน และความเป็นธรรมในการจ้างงาน 

4 ความคิดเห็น:

  1. ควรจะเพิ่มเนื้อหาให้มากกว่านี้
    แต่โดยรวมเเล้วก้อโอเค

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาเยอะนะ หามาจากไหนจ๊ะ

    ตอบลบ
  3. พื้นหลังสวยดีนะจ๊ะ

    แต่ตัวหนังสือควรมีสีสันต์บ้างนะ

    การจัดก็ควรมีการจัดให้มีความเรียบร้อยหน่อยนะ

    แต่ก็น่ารักเหมือนคนเม้นนะอิอิอิๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ